วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2557

สำนวนไทย



ขั้นนำ(Introduction)

     คนไทยได้ชื่อว่าเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอนมาแต่โบราณ การพูดจาสื่อสารในชีวิตประจำวันมักจะแทรกสำนวนไทยที่เหมาะกับบริบทนั้นๆไป สำนวนไทย เป็นศิลปะในการใช้ภาษาอย่างหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์ในการพูดและการเขียน ช่วยให้การพูดและการเขียนนั้นน่าสนใจ และเข้าใจชัดเจนขึ้น ทั้งถ้อยคำก็เป็นถ้อยคำที่สละสลวย มีความหมายกินใจ ทำให้เพลิดเพลินและจดจำได้ง่ายอีกด้วย

    


   

ภาระงาน (Task)

ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แล้วปฏิบัติงานตามภาระงานดังต่อไปนี้
  ภาระงานที่ 1 ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าสำนวนไทย จากหนังสือเรียนหรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มาของสำนวน  ลักษณะสำนวน พร้อมความหมาย วิธีการใช้ ข้อควรคำนึงในการใช้สำนวน แล้วจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน

   ภาระงานที่ 2 ให้แต่ละกลุ่มเลือกสำนวน มา 1 สำนวน ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ ตัวอย่างสำนวน พร้อมอธิบายความหมายและข้อคิดที่ได้จากสำนวน



กระบวนการเรียน (Learning Process)

  1.  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าสำนวนไทย จากหนังสือเรียนหรือแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ 
  2. ศึกษาที่มาสำนวนไทยศึกษาลักษณะสำนวนไทยศึกษาสำนวนที่เกิดขึ้นใหม่วิธีการใช้สำนวนไทยข้อควรคำนึงในการใช้สำนวนไทยศึกษาตัวอย่างสำนวนไทย 
  3. เลือกสำนวนไทยมากลุ่มละ 1 สำนวน นำมาแต่งให้เป็นเรื่องราว โดยที่สำนวนที่เลือกมาต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อเรื่องและบทบาทสมมุติที่จะแสดงด้วย
  4. เสนอบทบาทสมมุติหน้าชั้นเรียน

แหล่งเรียนรู้ (Resource)


เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับสำนวนไทย
  1. หนังสือเรียน ภาษาไทย : หลักภาษาและการใช้ภาษา ม.1
  2. ห้องสมุด
  3. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ
               แหล่งที่ 1 

               แหล่งที่ 2
             
             

ประเมินผล (Evaluation)


แบบประเมินภาระงานที่ 1

เกณฑ์การประเมิน ภาระงานที่ 1 รายงาน
รายการประเมิน
ระดับคุณภาพ
ดี (3)
พอใช้ (2)
ปรัปปรุง (1)
1. เนื้อหาสาระ
ของรายงาน
ครอบคลุมจุดประสงค
ทันเหตุการณ์และมีแหล่งอ้างอิง 2 ชนิดขึ้นไป
ครอบคลุมจุดประสงค์ทันเหตุการณ์ และมีแหล่งอ้างอิงต่ำกว่า 2 ชนิด
ครอบคลุมจุดประสงค์ ไม่ทันเหตุการณ์ และมีแหล่งอ้างอิงต่ำกวว่า 2 ชนิด
2. รูปแบบการ
จัดทํารายงาน
ครบถ้วนสมบูรณทั้งปก
คํานํา สารบัญ เนื้อหา
และบรรณานกรม
บกพร่องในบางส่วน
เช่น ปก คํานำ สารบัญ
แต่ยังมีเนื้อหา และบรรณานุกรม
ไม่ยึดถือรูปแบบการทํา
รายงาน และบกพร่อง
เป็นส่วนใหญ่เกือบ
ทุกส่วน
3. ความถูกต้อง
ในวิธีการ
นําเสนอ
ไม่มีขอบกพร่องในการ 
เลือกใช้หลักทฤษฎีใน
การนําเสนอขอมูล
มีขอบกพร่องเพียง
เล็กน้อยในประเด็น
ปลีกย่อย
มีขอบกพร่องในประเด็น
หลักของการนําทฤษฎี
มาใช้
4. ความสะอาด
เรียบร้อย
ผลงานสะอาด เรียร้อย
ประณีต แสดงถึงความ
ตั้งใจทําตลอดทั้งฉบับ
มีขอบกพร่องเกี่ยวกับ
ความเรียบร้อยใน
บางส่วนของงาน
เนื่องจากเหตุสุดวิสัย
ผลงานสกปรก เลอะเทอะ
แสดงถึงเจตนาในการรีบ
ทํางาน ผลงานไม่น่าอ่าน

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
  ระดับคุณภาพ
       10 – 12 ดี
       7 – 9 พอใช้
       4 – 6 ควรปรับปรุง


แบบประเมินภาระงานที่ 2

เกณฑ์การประเมิน ภาระงานที่ 2 งานแสดงบทบาทสมมุติ




ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน / ระดับคุณภาพ
ดี(3)
พอใช้(2)
ปรับปรุง(1)
1. ความเหมาะสมของบทบาทการนำเสนอ
แสดงบทบาทเหมาะสม  เสียงดังฟังชัด  ลีลาประกอบดีมาก
แสดงบทบาทเหมาะสม  เสียงดังปานกลาง  ลีลาประกอบดี
แสดงบทบาทเหมาะสม  เสียงเบา  ลีลาประกอบค่อนข้างน้อย
2. ความถูกต้องข้อมูล  สาระ  ความรู้
เนื้อหาสาระถูกต้องครบถ้วน
เนื้อหาสาระถูกต้องเป็นส่วนมาก
เนื้อหาสาระถูกต้องเป็นส่วนน้อย
3. ส่วนประกอบอื่นๆและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
มีการนำอุปกรณ์มาประกอบการนำเสนอ ดีมาก
มีการนำอุปกรณ์มาประกอบการนำเสนอ ดี
มีการนำอุปกรณ์มาประกอบการนำเสนอ ค่อนข้างน้อย

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
  ระดับคุณภาพ
       8 –9 ดี
       5 – 7 พอใช้
       2 – 4 ควรปรับปรุง

เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม


ประเด็นการประเมิน
เกณฑ์การให้คะแนน / ระดับคุณภาพ
ดีมาก(4)
ดี(3)
พอใช้(2)
ควรปรับปรุง(1)
1. บทบาทหน้าที่
 มีการกำหนดบทบาทหน้าที่สมาชิกไว้ชัดเจน
 มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ไม่ครบ ขาดไป 1 อย่าง
 มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ไม่ครบ ขาดไป 2 อย่าง
ไม่มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิก
2.การมีส่วนร่วม
สมาชิกกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในกลุ่ม
สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในกลุ่ม
สมาชิกกลุ่มมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในกลุ่มเป็นส่วนน้อย
สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในกลุ่มน้อย
3. ความรับผิดชอบ
 สมาชิกทุกคนทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่หลีกเลี่ยงงาน งานเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด
สมาชิกส่วนใหญ่ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ไม่หลีกเลี่ยงงาน งานเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด
สมาชิกส่วนน้อยทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หลีกเลี่ยงงานเป็นบางคน งานเสร็จช้ากว่าเวลาที่กำหนดเล็กน้อย
สมาชิกส่วนใหญ่ไม่ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หลีกเลี่ยงงานเป็นบางคน งานเสร็จช้ากว่ากำหนด
4.การรับฟังความคิดเห็น
สมาชิกทุกคนยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์
สมาชิกทุกคนยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและมีเหตุผล
สมาชิกส่วนน้อยยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและมีเหตุผล
สมาชิกส่วนใหญ่ไม่ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและไม่มีเหตุผล
5.ผลสำเร็จของงาน
เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม
 เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกส่วนใหญ่ในกลุ่ม
 เกิดจากความร่วมมือของสมาชิกส่วนน้อยในกลุ่ม
เกิดจากความร่วมมือของสมาชิก 1 - 2 คนในกลุ่มเท่านั้น

  • คะแนน 16-20 ดีมาก
  • คะแนน 11-15 ดี
  • คะแนน 6-10 พอใช้
  • คะแนน 0-5 ควรปรับปรุง

สรุป (Conclusion)


    สำนวนไทย คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู้อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น